หนึ่งในค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรถยนต์บ่อยที่สุดก็คือ การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เพราะหากคุณใช้น้ำมันถึงระยะทางที่กำหนด คุณภาพของน้ำมันเครื่องก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง เป็นผลให้การหล่อลื่น, หล่อเย็น, ภายในเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพลดลง เครื่องยนต์ก็อาจเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรครับ หากทำซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ก็ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจเป็นหลักหมื่นเลยก็มีครับ

คำถามเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ต้องเลือก “น้ำมันเครื่องรุ่นไหนดี” เพราะฉะนั้น Mongkol Auto Services จึงอยากแนะนำความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำมันเครื่องได้ง่ายขั้นครับ

น้ำมันเครื่อง มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่…

1. น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic)

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม สามารถใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม. ครับ
     

2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic)

  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากว่าน้ำมันเครื่องแบบธรรมดา (Syntetic) ทำให้สามารถใช้งานได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น +2000 กม. หรือประมาณ 5,000-7,000 กม. ครับ
     

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic)

  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ เป็นน้ำมันเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด [แต่ก็มีราคาที่แพงขึ้นมาก]ซึ่งมีกระบวนการผลิตมาจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระยะทางก้มากขึ้น โดยใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม. ครับ 

แน่นอนว่าเห็นจากระยะการใช้งานคงเลือกกันไม่ยาก แต่ของดีก็ย่อมมีราคาแพงกว่า เพราะน้ำมันเครื่องแบบธรรมดาราคาประมาณหลักร้อย น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ก็อยู่หลักพันกันเลยครับ ตามแต่สูตรและและแต่ละยี่ห้อ

การดูค่าต่างๆของน้ำมันเครื่อง

จากรูปตัวอย่างจะเห็นค่า “SM 10W-40” ซึ่งขอจำแนกแต่ละค่าดังนี้ครับ

“SM” คือค่า API (American Petroleum Institute Standard)

เป็นค่ามาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับน้ำมันเครื่องแบบสากลทั่วโลก

มาตรฐาน API หากเป็นน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินจะขึ้นต้นด้วย “S” เช่น API SM หรือ API SL

ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลจะขึ้นต้นด้วย “C” เช่น API CJ-4 หรือ API CI-4

โดยสามารถเข้าไปเช็กรายละเอียดได้ที่นี่ครับ www.api.org (ยิ่งปีเก่าเท่าไรมาตรฐานก็ยิ่งต่ำลงนะครับ)

API SN มาตรฐานคุณภาพสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ให้มาตรฐานประหยัดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น ป้องกันเทอร์โบชาร์จเจอร์ เข้ากับระบบควบคุมการปล่อยไอเสีย และเหมาะกับเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำมัน E85 ซึ่งประกาศใช้เดือนตุลาคม ในปี 2010 ครับAPI SM ประกาศใช้เมื่อปี 2010
API SL ประกาศใช้เมื่อปี 2004
API SJ ประกาศใช้เมื่อปี 2001

CK-4 มาตรฐานคุณภาพสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล ประกาศใช้เมื่อปี 2017
CJ-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2010
CI-4 ประกาศใช้เมื่อปี 2002
CH-4 ประกาศใช้เมื่อปี 1998

10W-30 คือค่ามาตรฐานจาก SAE (The Society of Automotive Engineer)

ซึ่งเป็นสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาครับ

โดยค่าชุดเลขตัวแรก “10W” คือค่าทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง ดังนี้ครับ

W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ในอุณหภูมิที่ -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ในอุณหภูมิที่ -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ในอุณหภูมิที่ -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ในอุณหภูมิที่ 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

ชุดเลขตัวที่สอง “40” บอกถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่อง

หลักๆก็จะมีตั้งแต่ 50, 40, 30, 20, 10 และก็ 5 โดยค่าของตัวเลขจะบ่งบอกถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องครับ เช่น 50 มีความหนืดมาก และ 40 ความหนืดก็น้อยลงตามลำดับครับ

โดยความหนืดของน้ำมันเครื่องนั้นจะมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกครับ โดยความหนืดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปจะอยู่ที่ 20-40 ครับ และอุณภูมิในเมืองไทยนั้นต่อให้ใช้ 20W ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะเครื่องยนต์ใหม่ก็มักไปเริ่มกันที่ “40” และปรับให้หนืดขึ้นเมื่ออายุเครื่องยนต์เพิ่ม เพื่อให้เครื่องฟิตขึ้นครับ 

น้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ

Pouring oil lubricant motor car from black bottle on isolated white background Premium Photo

น้ำมันเครื่องหลากหลายชนิดหลายยี่ห้อ มีการอธิบายความเหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท เช่น

For NGV, LPG & Gasoline – สามารถใช้ได้ดีกว่าสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG
Heavy Duty – จะเห็นถึงประสิทธิภาพเมื่อใช้กับรถที่บรรทุกของหนักครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง ที่เราได้รวบรวมมาให้ ทำให้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำมันเครื่องง่ายขึ้นว่าน้ำมันเครื่องแบบไหนเหมาะสมกับรถยนต์ของ ที่เหลือก็คงเป็นราคา ส่วนจะเลือกยี่ห้อไหนก็ตามแต่ชอบกันเลยครับ